รู้จัก "หนี้นอกระบบ" มะเร็งร้ายกระเป๋าเงินคนไทยไม่ได้ลืมตาอ้าปาก
ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คำจำกัดความว่า “หนี้นอกระบบ” คือ การกู้ยืมเงินที่ไม่ผ่านระบบสถาบันการเงินหรือผู้ให้กู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินกู้ตามกฎหมาย จึงไม่อยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานภาครัฐใดๆ อย่างการขอยืมเงินจากเพื่อนก็ถือเป็นหนี้นอกระบบแล้ว
นายกฯ นัดแถลงแก้ปัญหา “หนี้นอกระบบ” 28 พ.ย. นี้
หนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่ม 3.6 %
ทำให้ยากที่จะเห็นข้อมูลหนี้นอกระบบ เช่น ผู้ให้กู้เป็นใคร มีจำนวนมากแค่ไหน และแหล่งของเงินที่ให้กู้มาจากที่ใด (ขาว หรือ เทา ๆ)
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยอึ๊งภากรณ์ ในปี 2565 พบว่า มากกว่า 40% ของครัวเรือนที่ไปสำรวจ มีหนี้นอกระบบโดยส่วนใหญ่กู้จากนายทุนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดที่สำรวจ
กลุ่มเป้าหมายของเจ้าหนี้นอกระบบคือใครบ้าง? แล้วทำไมจึงได้รับความนิยม?
การกู้หนี้นอกระบบ โดนใจชาวบ้านที่ต้องการเงินด่วน เงินไว ไม่ตรวจประวัติ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ซึ่งคีย์เวิร์ดเหล่านี้ตอบโจทย์ผู้กู้กลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ต้องการใช้เงินเร่งด่วน เช่น ค่ารักษาพยาบาล นำไปลงทุนประกอบอาชีพ ต้องการเงินไม่มากเพื่อนำไปหมุนช่วงสั้น ๆ จึงไม่อยากเสียเวลาเตรียมเอกสาร
โดยกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการกู้เงินจากผู้ให้บริการในระบบ เช่น ไม่มีงานประจำ จึงทำให้ไม่มีข้อมูลประวัติทางการเงินอย่างกลุ่มฟรีแลนซ์และพ่อค้าแม่ค้า หรือเคยเป็นหนี้เสียมาก่อน รวมถึงกลุ่มที่กู้ในระบบจนเต็มวงเงินแล้ว ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ หลายครั้งก็มีความจำเป็นจริง ๆ
หนี้นอกระบบมาพร้อมดอกเบี้ยแอบแฝงสุดโหด
ดอกเบี้ยหนี้นอกระบบจากที่เห็นโฆษณาชวนเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพียง 1% จริงๆแล้ว เป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ “รายวัน”คิดแล้วจะเท่ากับ 365% ต่อปี ขณะที่หนี้ในระบบเพดานอยู่ไม่เกิน 28% ต่อปีและเป็นแบบลดต้อนลดดอก
ยกตัวอย่างเช่น นายวินัยตกลงกู้เงินนอกระบบ 50,000 บาท โดยมีระยะเวลาผ่อน 1 ปี และมีอัตราดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน วิธีการคำนวณดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี) หรือจากตัวอย่างคือ 50,000 x (30% x 12) x 1 = 180,000
ดังนั้นวินัยต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 180,000 บาทต่อปี (คิดเป็น 3.6 เท่า ของเงินต้น)
เจอคิดดอกเบี้ยแบบ "ดอกลอย"
กรณีดอกลอยสามารถเกิดได้ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ทั้งจำนวนในคราวเดียวกัน สามารถชำระได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น ทำให้ปริมาณเงินที่ต้องจ่ายโดยรวมถูกทบเข้าทั้งต้นทั้งดอกจนยอดหนี้สูงขึ้น ภาระทางการเงินก็จะเพิ่มขึ้น และเมื่อทบเข้าไปยาวนานขึ้นเรื่อยๆ จากกู้ไม่กี่พันบาทอาจจะลอยไปเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสนเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
ทำให้ลูกหนี้นอกระบบหลายคนจ่ายไปก็ได้แค่ดอกเบี้ย ส่วนเงินต้นไม่ลดลงเลยเพราะดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจริงในแต่ละปีสูงมากกว่าเงินต้นด้วยซ้ำ
การคิดดอกเบี้ยแบบ “ดอกลอย” แสนอันตรายและยิ่งซ้ำเติมลูกหนี้มากขึ้นไปอีก เพราะการกู้แบบนี้ลูกหนี้จะปิดหนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีเงินต้นมาจ่ายคืนทั้งจำนวนในครั้งเดียวซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ยากทำให้ต้องจ่ายแต่ดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ
เพราะหนี้นอกระบบไม่มีสัญญาที่ชัดเจนหรือสัญญาที่อาจไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล การเจรจาต่อรองเพื่อประนีประนอมก็ทำได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกทวงหนี้โหด ข่มขู่ หรือถูกทำร้ายร่างกาย ซึ่งแม้ลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ก็ตาม
แก๊งหมวกกันน็อค
มีลักษณะเป็นการปล่อยเงินกู้เงินรายวันโดยไม่มีการทำสัญญา อาจใช้วิธียึดบัตรเครดิต บัตรประชาชน หรือยึดบัตรของคนที่ค้ำประกัน ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาด แก๊งเหล่านี้กระจายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยหลายๆแก๊งมีแหล่งเงินทุนจากทุนใหญ่เจ้าเดียวกัน กลโกงที่น่ากลัวมากของแก๊งหมวกกันน็อคนั้นมีอยู่ 2 วิธีคือคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
- การคิด “ดอกลอย” เช่น ให้กู้ 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับเดือนละ 5,000 บาท ก็จะให้ลูกหนี้ส่งดอกเบี้ยเดือนละ 5,000 บาทไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกหนี้จะมีเงินต้นครบ 50,000 บาทมาใช้คืน ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่สามารถหลุดจากการเป็นหนี้ได้ และต้องส่งเงินให้เจ้าหนี้มากกว่าเงินต้นที่กู้ยืมมาหลายเท่า หรือต้องไปกู้หนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกู้ในวงเงินที่มากกว่าเดิม
- “ล้ม เงินส่ง 24 วัน” ยกตัวอย่าง เงินกู้ 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 2,000 บาท รวมเป็น 12,000 บาท ให้ผ่อนชำระเป็นเวลา 24 วัน วันละ 500 บาท ระหว่างที่ผ่อนชำระหากวันใดวันหนึ่งลูกหนี้ไม่สามารถส่งเงินได้ เจ้าหนี้จะยกเลิกเงินที่ส่งมาแล้วทั้งหมดเท่ากับศูนย์ หรือที่เรียกกันว่า “ล้ม” และลูกหนี้ต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ในการผ่อนชำระ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ลูกหนี้จำนวนมากไม่สามารถหลุดจากการเป็นหนี้ได้
ถ้าจำเป็นต้องกู้หนี้นอกระบบจริง ๆ ควรทำอย่างไร?
1. หากู้จากคนรู้จักก่อน เช่น เพื่อน ญาติ ที่พร้อม เพื่อให้เจรจาง่ายขึ้น
2. เทียบดอกเบี้ยระหว่างเจ้าหนี้แต่ละรายให้ได้ต่ำที่สุด
3.กู้ในจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ เท่านั้น ให้นึกอยู่เสมอว่าหนี้นอกระบบแพงมาก และเมื่อกู้แล้ว ควร “ปิดหนี้ให้ไวที่สุด” ก่อนอื่นเอาหนี้ทุกก้อนมาดู หนี้ก้อนไหนใกล้หมดแล้ว ปิดจบก้อนนั้นก่อนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ก้อนไหนดอกเบี้ยสูง ลองหาทางที่จะลดดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเจรจากับเจ้าหนี้หรือกู้เงินจากแหล่งที่ดอกเบี้ยต่ำกว่ามาปิดหนี้
ที่มา :ธนาคารแห่งประเทศไทย | Bank of Thailand (bot.or.th)/ ธนาคารไทยพาณิชย์